แชร์

การประเมินสีภาพใน light booth

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.ค. 2025
8 ผู้เข้าชม

ตู้เทียบสี

ผลิตภัณฑ์ต้องมีเฉดสีเหมือนกันภายใต้แสงที่หลากหลาย

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ

  • มาตรฐานในการประเมินเฉดสีที่เปลี่ยนภายใต้แหล่งแสงต่างๆ (metamerism)
  • วิธีการกำหนดลักษณะของแหล่งแสง
  • วิธีการจำลองแสงธรรมชาติ D65 daylight ด้วยแหล่งแสงเทียม

การประเมินเฉดสีด้วยสายตาในตู้เทียบสี (light booth)

เฉดสีที่สม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์แสดงถึงผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพสูง และมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลายชิ้นจากวัสดุและจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน

สายตามนุษย์มักเป็นผู้ตัดสินขั้นสุดท้ายในการออกแบบใหม่ ดังนั้นสภาวะแวดล้อมการตรวจสอบด้วยสายตาจำเป็นต้องทำให้เป็นมาตรฐานเพื่อรับประกันผลลัพธ์ทางสายตาที่สามารถทำซ้ำได้

การเทียบสี (color match) ที่มีความสำคัญที่สุดคือ ภายใต้สภาวะแสงแดดธรรมชาติ โดยองค์กร CIE  ได้กำหนดมาตรฐานของแสงไฟส่องสว่างประเภทแสงแดด (daylight illuminants) ไว้หลายประเภท ซึ่งมาตรฐาน D65 ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่สำคัญที่สุด

หลอดไฟที่ใช้ในตู้เทียบสี (light booth) ควรจำลองแสงให้ใกล้เคียงกับมาตรฐาน CIE D65 มากที่สุด ซึ่งในการจำลองแสงนี้ยังคงใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ อย่างไรก็ตามการสร้างแสงไฟใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทำให้สามารถจำลองแสง CIE D65 ได้ด้วยคุณภาพระดับ CLASS A โดยการผสมผสานระหว่างหลอดฮาโลเจนที่ถูกกรองแสงกับชุดหลอดไฟ LEDs

 

1. การกำหนดมาตรฐานการประเมินเฉดสีด้วยสายตา

การรับรู้เฉดสีขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัว รวมถึงปัจจัยแวดล้อมและแสงไฟส่องสว่าง เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีความแปรปรวนสูงและไม่คงที่ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานแสง  และแสงไฟส่องสว่างควรสลับเปลี่ยนประเภทแสงได้ง่ายเพื่อให้สังเกตเห็นและหลีกเลี่ยงปรากฏการณ์ "Metamerism" กล่าวคือ คู่เทียบสีมีเฉดสีต่างกันเมื่อประเภทแสงเปลี่ยนไป

เพื่อให้การทดสอบและประเมินเฉดสีมีความน่าเชื่อถือ  มาตรฐานสากลได้กำหนดขั้นตอนการทดสอบโดยระบุส่วนประกอบดังต่อไปนี้

1.1 ผู้สังเกต (Observer)

ผู้สังเกต(Observer) ต้องมีการมองเห็นสีปกติและควรได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในการประเมินเฉดสี 

เพื่อหลีกเลี่ยงความเมื่อยล้าของดวงตา  การตัดสินใจเฉดสีจะถูกกระทำภายในไม่กี่วินาที นอกจากนี้ต้องหยุดพักระยะสั้นระหว่างการประเมินเฉดสี  เนื่องจากการอธิบายเฉดสีของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ดังนั้นควรใช้ลำดับต่อไปนี้ในการสื่อสารและการจัดทำเอกสารข้อมูลของเฉดสี คือ เฉดสี(hue)? ความสดของสี(chroma)? ความสว่าง(lightness)?

1.2 วัตถุ (Object)

ชิ้นงานควรแบน (flat) มีความสม่ำเสมอในเฉดสี, ความมันวาว และสภาพพื้นผิว (surface texture)  วางชิ้นงานมาตรฐานและชิ้นงานตัวอย่างติดกัน ไม่มีระยะห่างระหว่างกัน และสลับตำแหน่งเป็นครั้งคราว ขนาดชิ้นงาน คือ ประมาณ 10 ซม. ถึง 15 ซม. ระยะห่างระหว่างดวงตากับชิ้นงานควรอยู่ที่ 50 ซม. ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่การมองเห็น 10°

1.3 สภาพแวดล้อม(Surronding)

พื้นที่รอบชิ้นงานรวมถึงสภาพแวดล้อมการมองเห็นมีความสำคัญอย่างสูงในการประเมินเฉดสี โดยทำหน้าที่เป็นที่พักสายตาของผู้ประเมิน  ภายในตู้เทียบสี(light booth) ควรมีสีเทาด้าน และผู้ประเมินควรสวมเสื้อผ้าสีกลางเพื่อป้องกันการสะท้อนสีที่อาจรบกวนการประเมิน

1.4 แสงไฟส่องสว่าง (Illumination)

ระดับของแสงส่องสว่าง ณ ที่วางคู่ชิ้นงานเทียบสี มีค่าความสว่างระหว่าง 1000 LX ถึง 5000 LX ขึ้นอยู่กับมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง  โดยปกติจะมีแผงกระจายแสง (diffuser panel) เพื่อหลีกเลี่ยงการสะท้อนโดยตรงและทำให้แสงมีความสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ตรวจสอบ

 

2. เงื่อนไขสำหรับการกำหนดลักษณะของแสง

แสงคือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด และหมายถึงรังสีที่มองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ (ความยาวคลื่น: 400 นาโนเมตร ถึง 700 นาโนเมตร)

ในการกำหนดลักษณะแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ใช้คำศัพท์หลายคํา ได้แก่ อุณหภูมิสี (color temperature : CT) และอุณหภูมิสีสัมพันธ์ (correlated color temperature : CCT) ดัชนีการแสดงผลสี (color rendering index : CRI Ra) และการกระจายพลังงานสเปกตรัม (spectral power distribution : SPD) และ ดัชนีเมตาเมอริซึม (metamerism index : MIVIS

2.1 อุณหภูมิสี (color temperature : CT) และอุณหภูมิสีสัมพันธ์ (correlated color temperature: CCT)

แนวคิดของอุณหภูมิสีมาจากหลักการฟิสิกส์ที่ว่าสีของวัตถุจะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับความร้อนเนื่องจากรังสีที่ปล่อยออกมาจะเปลี่ยนไป 

ISO/CIE 10526:1991 ระบุว่าอุณหภูมิสี TC คือ "อุณหภูมิของตัวแผ่รังสีแพลงก์ (PLANCKIAN radiator) ซึ่งรังสีของมันมีความสดของสี(chromaticity)เหมือนกับสิ่งกระตุ้นที่กำหนดไว้." กล่าวง่ายๆ อุณหภูมิสีคืออุณหภูมิที่อธิบายสีของแสงตามอุณหภูมิของวัตถุดำของแพลงก์ (PLANCKIAN black-body)

รูปที่ 1 จุด Planckian ในพื้นที่สี CIE x,y

รูปที่ 1 แสดงพื้นที่สี CIE x, y เส้นสีดำในกราฟแสดงค่าสี (chromaticity values) ของแหล่งกำเนิดแสง  ณ อุณหภูมิต่างๆอุณหภูมิสีแสดงเป็นหน่วยเคลวิน (K)  หน่วยเคลวินเป็นการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ (0°C=273K)  อุณหภูมิสีที่มากกว่า 5000K ถูกกําหนดให้เป็นสีเย็นโดยมีเฉดสีขาวอมน้ำเงิน   ส่วนอุณหภูมิสีที่ต่ำกว่า (2700K 3000K) ถูกกําหนดให้เป็นสีอบอุ่นโดยมีเฉดสีเหลืองและสีแดง 

แหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติส่วนใหญ่ (เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงดาว) มักสอดคล้องอย่างมากกับหลักการของ Planckian Locus นี้แต่เมื่อต้องอธิบายแหล่งแสงที่ไม่ได้เปล่งแสงตรงกับวัตถุดำจะใช้คําว่าอุณหภูมิสีสัมพันธ์ ตามมาตรฐาน ISO/CIE 10526:1991 อุณหภูมิสีสัมพันธ์ (TCP) คือ "อุณหภูมิของวัตถุดำแพลงก์ที่รับรู้สีใกล้เคียงกับสิ่งเร้าที่กำหนดมากที่สุดในสภาวะการสังเกตที่กำหนด"

2.2 การกระจายพลังงานสเปกตรัม(Spectral Power Distribution : SPD)

เฉดสีและอุณหภูมิสีไม่ใช่พารามิเตอร์เฉพาะในการอธิบายแหล่งกำเนิดแสง (light source)  แหล่งกำเนิดแสงสองแหล่งที่มีพิกัดสี (chromaticity coordinates) xy และอุณหภูมิสีเท่ากัน อาจมีลักษณะสเปกตรัมต่างกันได้ ซึ่งนำไปสู่การรับรู้เฉดสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นวิธีที่แม่นยําที่สุดในการระบุลักษณะของแหล่งกำเนิดแสงหรือแสงไฟส่องสว่าง คือ เส้นกราฟการกระจายพลังงานสเปกตรัม (spectral power distribution curve : SPD)

เส้นกราฟนี้แสดงฟลักซ์การแผ่รังสี (ปริมาณพลังงาน) ที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงที่ความยาวคลื่นต่างๆ ทั่วทั้งสเปกตรัมที่มองเห็นได้  เส้นกราฟ SPD ถูกทำให้เป็นมาตรฐานที่ความยาวคลื่น 560 นาโนเมตร เพื่อให้การประเมินไม่ขึ้นกับระดับสัมบูรณ์ของการส่องสว่าง

2.3 ดัชนีการแสดงผลสี Color Rendering Index : CRI

ดัชนีการแสดงผลสีเป็นการวัดเชิงปริมาณของแหล่งกำเนิดแสงและความสามารถในการเปิดเผยสีของวัตถุเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งกำเนิดแสงในอุดมคติหรือแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ

คําว่า CRI มักใช้กับผลิตภัณฑ์แสงสว่างที่มีจําหน่ายทั่วไป ตามคําจํากัดความที่เหมาะสม ควรเรียกว่า Ra ดัชนีการแสดงสีทั่วไป หรือ Ri ดัชนีการแสดงสีพิเศษ ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนตัวอย่างสีทดสอบที่ได้รับการประเมิน CRI คํานวณโดยการเปรียบเทียบการแสดงสีของแหล่งทดสอบกับแหล่งที่มาที่กำหนด

สำหรับแหล่งทดสอบที่มี CCT ต่ำกว่า 5000K จะใช้วัตถุสีดำเป็นแหล่งที่กำหนด สำหรับแหล่งทดสอบที่มากกว่า 5000K จะใช้แสงแดด (ไฟส่องสว่าง D)

การคํานวณโดยละเอียดของ Ri และ Ra อธิบายไว้ในรายงานทางเทคนิคของ CIE 13.3-1995  วิธีการทดสอบใช้ชุดตัวอย่างสีทดสอบ CIE-1974 จำนวน 8 ตัวอย่าง (Ra) หรือ จำนวน 14 ตัวอย่าง (Ri) จากชุด the Munsell Atlas ฉบับแรก

ตัวอย่างแปดตัวอย่างแรกมีความอิ่มตัวของสีในระดับปานกลาง ซี่งครอบคลุมวงกลม hue เฉดสี และมีความสว่างใกล้เคียงกัน อีกหกตัวอย่างให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติการแสดงสีของแหล่งกำเนิดแสง

2.4 ดัชนีเมตาเมอริซึม (Metamerism Index : MI)

เอกสารเผยแพร่จาก CIE หมายเลข 51.2 อธิบายวิธีการประเมินคุณภาพของแหล่งแสงแดดต่างๆ  สำหรับช่วงที่มองเห็นได้ วิธีการนี้ใช้คู่ตัวอย่างทางทฤษฎีห้าคู่ โดยแต่ละคู่ประกอบด้วยตัวอย่างมาตรฐานและตัวอย่างเมเทอเมอริก และมี MIVIS = 0 สำหรับแหล่งแสงมาตรฐาน D65

ยิ่งความไม่ตรงกันระหว่าง MIVIS ของแหล่งแสงมาตรฐาน กับ MIVIS ของแหล่งแสงที่เลียนแบบแสงแดดมากเท่าใด,  คุณภาพของแหล่งแสงจะยิ่งแย่ลงเท่านั้น

นอกจาก MIVIS สำหรับช่วงมองเห็นได้ CIE ยังได้กำหนด MIUV สำหรับช่วงฟลูออเรสเซนต์ โดยมีคู่ตัวอย่างทางทฤษฎีเมเทอเมอริกสามคู่  สูตรสำหรับ MIVIS และ MIUV แสดงไว้ด้านล่างในรูปที่ 2 โดยที่ ΔEi (L*a*b*) และ ΔEj (L*a*b*) เป็นความแตกต่างของสีระหว่างคู่เมเทอเมอริกอันดับที่ i และ j

การจำแนก MIVIS และ MIUV ทำได้ตามตารางด้านล่างนี้

Catagory CIELAB
A < 0.25
B 0.25 to 0.5
C 0.5 to 1.0
D 1.0 to 2.0
E > 2.0

 

เนื่องจากไม่มีแหล่งกำเนิดแสง D65 ที่แท้จริงอยู่ จึงเป็นความท้าทายในการพัฒนาสิ่งที่จำลองแสง D65 ให้ใกล้เคียงที่สุดกับแสงมาตรฐาน CIE D65  คุณภาพของสิ่งที่จำลองแสงจะถูกประเมินอย่างเป็นกลางด้วยดัชนีเมตามอริซึม CIE Metamerism Index : MIVIS ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับคุณภาพ Class A ถึง E โดย Class A จะมีความแม่นยำมากที่สุดในการจำลอง

รูปที่ 2 การคำนวณดัชนีเมตาเมอริซึม MIvis และ MIuv

 

3. การจำลองแสงตามมาตรฐาน CIE illuminants ด้วยแหล่งแสงเทียม

3.1 นิยามของแหล่งแสง (light source) และแสงไฟส่องสว่าง (illuminant)

เมื่อกล่าวถึงแหล่งกำเนิดแสง (light source) และแสงไฟส่องสว่าง(illuminants) สิ่งสำคัญคือการทราบถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ การอธิบายอย่างง่ายและถูกต้องมาจาก "Billmeyer และ Saltzmann" ซึ่งอธิบายว่า แหล่งกำเนิดแสง ( a light source) คือ "แสงที่สามารถสร้างได้ทางกายภาพ ซึ่งการแจกแจงพลังงานสเปกตรัมของมันสามารถกำหนดได้จากการทดลอง"  แสงไฟส่องสว่าง (illuminant) ถูกกำหนดว่าเป็น "แสงที่กำหนดโดยการแจกแจงพลังงานสเปกตรัมสัมพัทธ์ที่อาจหรือไม่อาจสามารถสร้างได้ทางกายภาพในฐานะแหล่งกำเนิด"

CIE (Commission Internationale de lÉclairage) ได้กำหนดเส้นกราฟการกระจายพลังงานสเปกตรัม (spectral power distribution curve : SPD) จำนวนหนึ่งเพื่อจัดทำสเปกตรัมอ้างอิงสำหรับการใช้งานด้านการวัดสี ซึ่งเรียกว่า CIE standard illuminants

3.2 แสงไฟมาตรฐาน CIE standard illuminant A

แสงไฟมาตรฐาน A ถูกนำเสนอโดย CIE ในปี 1931 และเป็นตัวแทนของหลอดไฟทังสเตนแบบเปล่งแสง ซึ่งมี SPD ตามตัวแผ่รังสีแพลงก์ (PLANCKIAN radiator) ที่มีอุณหภูมิประมาณ 2856 K

เพื่อจำลองแสงไฟมาตรฐาน A ในตู้เทียบสี จะใช้หลอดไฟทั่วไปแบบดั้งเดิมหรือจะใช้หลอดทังสเตนควอตซ์ฮาโลเจน (CT˜3000K) (รูปที่ 3)

 

รูปที่ 3 การจำลองแสงไฟมาตรฐาน CIE A ด้วยหลอดไฟทังสเตนฮาโลเจนใน byko-spectra pro

3.3 แสงไฟมาตรฐาน CIE standard illuminant F

CIE ได้กำหนดประเภทหลอดฟลูออเรสเซนต์ 12 ประเภท ซึ่งมีชื่อว่า F1 ถึง F12 แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม โดยมีความแตกต่างกันในความกว้างของช่วงคลื่นและความยาวคลื่นสูงสุดของการปล่อยแสง (emission spikes) ทำให้ได้ดัชนีการแสดงผลสี Color Rendering Index : CRI และอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน

Classified Groups Lamp Types Color Temperature TC CRI Ra
Standard F1 - F6 2500 - 7000 K 60 - 80
Broad band F7 - F9 2500 - 7000 K ~ 80
Three narrow band F10 - F12 2500 - 7000 K 80 - 90

 

ในบรรดาสิบสองประเภทนี้ F2 และ F11 เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม  โดย F2 เป็นที่รู้จักในชื่อ "CWF" (ฟลูออเรสเซนต์สีขาวเย็น) มี CT ประมาณ 4000K และ CRI Ra ประมาณ 60  และ F11 เป็นที่รู้จักในชื่อ TL84 มี CT ประมาณ 4000K และ CRI Ra มากกว่า 85  สำหรับการจำลองแสงสว่างมาตรฐาน F series ในตู้เทียบสี หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ขายทั่วไปจะถูกนำมาใช้ (รูปที่ 4)

รูปที่ 4 การจำลองของแหล่งแสง CIE F2 และ F11 ด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ใน byko-spectra pro

3.4 แสงไฟมาตรฐาน CIE standard illuminant D65

ในปี 1964 CIE ได้กำหนดมาตรฐานแสงไฟในช่วงเวลากลางวันโดยการวัดเป็นจำนวนมากจากแสงธรรมชาติจริง ซึ่งแสดงในตารางด้านล่าง จากการวัดทั้งหมด 622 ครั้ง เส้นกราฟ SPD ทางทฤษฎีของแสงกลางวันตั้งแต่ 330nm จนถึง 700nm ได้รับการสร้างขึ้น แสงไฟมาตรฐาน D65 ของ CIE เป็นตัวแทนที่สำคัญที่สุดของแสงกลางวันเฉลี่ยที่ 6504K ซึ่งสัมพันธ์กับแสงกลางวันในยุโรปตอนกลางและตอนเหนือ รวมถึงแสงแดดโดยตรงและแสงที่กระจายจากท้องฟ้าที่โปร่งใส รวมถึงแสงในส่วน UV

Illuminant อุณหภูมิสี ชื่อทั่วไป
D50 5003 K แสงแดดสีอบอุ่นตอนพระอาทิตย์หรือพระอาทิตย์ตก
D55 5504 K แสงแดดตอนสาย หรือ แสงแดดตอนบ่าย
D65 6504 K แสงแดดตอนกลางวัน
D75 7500 k แสงแดดตอนมีเมฆมาก


 

4. การจำลองแสงไฟ D65 ในตู้เทียบสี

เพื่อจำลองแสงธรรมชาติ แหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างกันจะถูกใช้ในตู้เทียบสีและโคมไฟที่จำหน่ายในเร้านค้าสำหรับการประเมินทางสายตา

ขึ้นอยู่กับว่าแหล่งกำเนิดแสงจำลองแสงตรงกับแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐาน CIE D65 ได้ดีเพียงใด  คู่ตัวอย่างหนึ่งคู่สามารถดูมีความแตกต่างกันมากได้

ตามตัวอย่างด้านล่าง  คู่ตัวอย่างได้รับการประเมินในตู้เทียบสีที่ 1 ด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มี CT ประมาณ 6500K และ CRI Ra ประมาณ 96 และมีการจำลองแสงธรรมชาติ D65 ที่กำหนดโดย CIE มีคุณภาพระดับ Class B ตามเกณฑ์ของ CIE MIVIS (ดูหัวข้อที่ 2.4) ความแตกต่างระหว่างคู่ตัวอย่างนี้มีความสำคัญมากภายใต้เงื่อนไขการประเมินเหล่านี้ (รูปที่ 5)

คู่ตัวอย่างเดิมจะได้รับการประเมินในตู้เทียบสีที่ 2 โดยใช้อุปกรณ์โดย byko-spectra pro โดยใช้หลอดฮาโลเจนพร้อมกับกระจกกรองสีฟ้าที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษร่วมกับชุดไฟ LED   การรวมกันนี้ทำให้เกิดการจำลอง CIE D65 ที่ยอดเยี่ยมโดยไม่มีสัญญาณรบกวน (ดูกราฟสีน้ำเงินในรูปที่ 6) ส่งผลให้ได้คุณภาพระดับ CIE MIVIS Class A ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ คู่ตัวอย่างของเราจะแสดงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกับแสงธรรมชาติ

                     รูปที่ 5 การจำลองแสงธรรมชาติด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์                                          รูปที่ 6 การจำลองแสงธรรมชาติด้วยการตั้งค่าแสงที่จดสิทธิบัตรโดย byko-spectra pro

 

5. บทสรุป: ดีที่สุดในระดับเดียวกับแสงแดดธรรมชาติ ด้วยตู้เทียบสี byko-spectra pro

ตู้เทียบสีใหม่ byko-spectra pro จาก BYK-Gardner แก้ปัญหาในการนำแสงแดดธรรมชาติเข้าสู่ห้องปฏิบัติการด้วยการผสมผสานอย่างชาญฉลาดระหว่างแสงที่กรองจากหลอดฮาโลเจนและชุดหลอดไฟ LED   การรวมกันนี้รับประกันการจำลองแสงแดดธรรมชาติที่ดีที่สุดในระดับเดียวกัน - ทดสอบตามมาตรฐาน CIE  นอกจากนี้ มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ในตู้เทียบสีนี้เพื่อควบคุมประสิทธิภาพของหลอดไฟและปรับแรงดันโดยอัตโนมัติเพื่อรับประกันความเสถียร 

เพื่อควบคุมสภาพของหลอดไฟและแจ้งให้เปลี่ยนหลอดไฟ อุณหภูมิสีจริง ความเข้มของแสง และเวลาการทำงานของหลอดไฟจะแสดงบนหน้าจอของตู้เทียบสีนี้  เพื่อลดช่วงเวลาการบำรุงรักษา อายุการใช้งานของแสงแดด class A จึงขยายออกไปเป็น 600 ชั่วโมง

ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผลิตภัณฑ์ลูกค้า  เฉดสีต้องตรงกันภายใต้แสงที่หลากหลาย  เพื่อตรวจสอบเมตาเมริซึม (metamerism) ตู้เทียบสี byko-spectra pro มีการจำลองแสงแดดธรรมชาติด้วยประสิทธิภาพระดับ class A (D65), แสงจากหลอดไฟไส้ (A), แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์สามประเภท (CWF, TL84, U30) และแสง UV สำหรับการประเมินตัวอย่างฟลูออเรสเซนต์  แสงที่กระจายเป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินสี (solid color) ดังนั้นแผ่นกระจายแสงจึงผสมผสานแสงเพื่อให้แสงสว่างสม่ำเสมอทั่วทั้งพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ผนังภายในจึงทาสีเทาอ่อนแบบด้านเพื่อกำจัดอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผู้สังเกต

ประสิทธิภาพทางเทคนิคไม่ใช่เกณฑ์ที่สำคัญเพียงอย่างเดียวสำหรับตู้เทียบสี   การทำงานที่มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายยังมีบทบาทสำคัญต่อผู้ใช้  หน้าจอสีขนาดใหญ่ไม่เพียงแต่เป็นสวิตช์เปลี่ยนแสงไฟ แต่ยังช่วยให้การใช้งานง่ายผ่านเมนูนำทาง  การควบคุมระยะไกล(remote control)ที่รวมอยู่ช่วยให้สามารถเปลี่ยนแสงไฟจากระยะห่างได้ถึง 10 เมตร  โหมด Auto Sequence จะดำเนินการอัตโนมัติโดยผ่านลำดับหลอดไฟที่ผู้ใช้กำหนดไว้อย่างอิสระ

byko-spectra pro มีให้บริการในรูปแบบตู้เทียบสีปกติและเป็นไฟส่องสว่าง (luminaires) ไฟส่องสว่าง(luminaires)สามารถแขวนจากเพดานเป็นชุดหรือหลายหน่วยเพื่อทำห้องมีแสงที่มีความสม่ำเสมออย่างถ้วนทั่ว (color harmony room)เพื่อประเมินชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว เช่น ตัวถังรถยนต์   ไฟส่องสว่าง (luminaire)ยังมีข้อกำหนคุณสมบัติแสงระดับ  class A เหมือนกับตู้เทียบสี ทำให้มั่นใจได้ถึงความแม่นยำที่จำเป็นในการประเมินเฉดสีด้วยสายตา

 

 

อ้างอิง

https://www.byk-instruments.com/en/product-theory-color
https://www.byk-instruments.com/en/t/knowledge/light-booth


บทความที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการผลิตและการตรวจวิเคราะห์น้ำดื่มบรรจุขวด: ความปลอดภัยระดับสากลเพื่อผู้บริโภค
น้ำดื่มบรรจุขวดเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้ และต้องดำเนินการตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
7 พ.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy